วันอังคารที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

โครงการจุฬาภรณ์พัฒนา ๖ จังหวัดปัตตานี

พระราชดำริ :    สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี
 
ความเป็นมา :
          ตามที่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จทรงปฏิบัติงานโครงการสร้างภูมิคุ้มกันในเขต ๔ จังหวัดชายแดนภาคใต้ อันประกอบด้วย จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสตูล มาเป็นเวลานาน ได้ทรงประสบพบเห็นชาวไทยที่ยากจน และไร้หลักแหล่งที่ทำกินจำนวนมาก จึงมีพระประสงค์จะให้ความช่วยเหลือแก่ราษฎรผู้ทุกข์ยากเหล่านั้น โดยทรงมีพระราชดำริ ความว่า “ให้จัดหาพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม และที่ถูกบุกรุกแล้วนำมาพัฒนาจัดระเบียบ เพื่อให้ราษฎรที่ยากไร้สามารถเข้าอยู่อาศัย และมีที่ทำกิน พร้อมทั้งบำรุงป่าธรรมชาติที่ยังเหลืออยู่ และปลูกป่าเพิ่มเติมให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ตลอดจนการพัฒนาอาชีพและยกระดับคุณภาพชีวิต เพื่อความอยู่ดีกินดีของราษฎรในรูปของหมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา
          ในส่วนของจังหวัดปัตตานี กรมป่าไม้ได้ถวายพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าดอนนา บ้านดอนนา ตำบลบางเขา อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี พื้นที่ประมาณ ๒,๒๕๖ ไร่ เพื่อทรงพิจารณาใช้ประโยชน์ป่าดอนนาซึ่งมีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม เป็นป่าเสม็ด ในรอบปีมีน้ำท่วมขังประมาณ ๓ - ๔ เดือน ดินส่วนใหญ่เป็นดินเหนียวและดินร่วนปนทรายมีความเป็นกรดของดินและน้ำค่อนข้างสูง ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในทางเกษตรกรรมได้สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า พื้นที่อยู่ไม่ไกลจากฝั่งทะเล (ประมาณ ๔ - ๕ กม.) และมีน้ำเค็มขึ้นถึงเกือบตลอดปี มีคลองธรรมชาติอื่นเข้ามาจากฝั่งทะเล และหลายคลองสามารถดึงน้ำทะเลเข้ามาในพื้นที่ได้ ทำให้พื้นที่ดังกล่าวซึ่งไม่ได้ใช้ประโยชน์อันใดนั้น สามารถนำมาพัฒนาให้เป็นพื้นที่ในการเลี้ยงกุ้งกุลาดำแบบพัฒนาได้ อันประกอบด้วย ระบบชลประทานน้ำเค็ม และระบบบำบัดน้ำเสียอย่างถูกต้องตามหลักการรักษาสภาพแวดล้อม เพื่อให้เป็นตัวอย่างของรูปแบบการเลี้ยงกุ้งที่ถูกวิธี และแนะนำฝึกหัดให้ราษฎรในโครงการได้รู้ถึงการเลี้ยงกุ้งที่ถูกต้องและเหมาะสม แต่เนื่องจากการจัดทำโครงการจัดระบบน้ำเค็มเพื่อการเลี้ยงกุ้งทะเล ต้องใช้งบประมาณในการลงทุนค่อนข้างสูงมาก จึงชะลอโครงการนี้ไว้ก่อนเพื่อศึกษาหาความเป็นไปได้ว่าจะเป็นไปได้มากน้อยเพียงไรสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์และกรมประมงได้พิจารณาเห็นว่า ด้วยคุณลักษณะทางกายภาพและพืชพรรณของพื้นที่มีความเป็นไปได้สูง
ในการนำมาใช้ประโยชน์เพื่อการเพาะเลี้ยงปลาสลิด อันจะเป็นอาชีพที่มั่นคงแก่ราษฎรผู้ยากไร้ได้ต่อไป
          เมื่อวันที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๓๖ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ได้เสด็จฯ ออกหน่วยแพทย์พระราชทาน ณ โรงเรียนวังกะพ้อ ทรงมีพระราชดำริ ให้จังหวัดปัตตานีร่วมกับกรมประมง และหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน ดำเนินการวางแผนทดลองเลี้ยงปลาสลิดในระหว่างที่รอผลการศึกษาความเป็นไปได้ของการเลี้ยงกุ้งแบบหนาแน่น ดังนั้น การเลี้ยงปลาสลิดในโครงการจุฬาภรณ์พัฒนา ๖ ป่าดอนนา จังหวัดปัตตานี จึงไม่เพียงเป็นการสร้างอาชีพแก่ราษฎรผู้ยากไร้เท่านั้น ยังเป็นการจัดสร้างแหล่งปลาสลิดแห่งใหม่ทดแทนแหล่งปลาดั้งเดิม (แถบอำเภอบางพลี บางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ) อีกทั้งสามารถนำผลการทดลองเป็นแนวทาง เพื่อขยายผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ดินเค็ม ดินเปรี้ยวจัด และดินพรุ ซึ่งเป็นที่รกร้างว่างเปล่าที่มีอยู่มากมายทางภาคใต้ต่อไป
 
 
วัตถุประสงค์โครงการ :
          ๑. เพื่อจัดทำแปลงนาปลาสลิดในลักษณะสาธิตถึงการจัดระบบการเลี้ยงแบบพัฒนาควบคู่ไปกับการอนุรักษ์สภาพแวดล้อม
          ๒. เพื่อสร้างอาชีพให้แก่เกษตรกรผู้ยากไร้ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้มีรายได้เพิ่มขึ้น
          ๓. เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาขยายพื้นที่การเลี้ยงปลาสลิด โดยเฉพาะการใช้ประโยชน์จากพื้นที่อื่นที่ไม่สามารถทำการเกษตรด้านอื่นๆ ได้
          ๔. เพื่อเป็นแหล่งผลิตอาหารโปรตีนประเภทปลาให้แก่นักเรียนบริโภคเป็นอาหารกลางวัน และเป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่ความรู้ถ่ายทอดให้เกษตรกรในหมู่บ้าน รวมทั้งปลูกฝังและฝึกอบรมให้นักเรียนมีความรู้และประสบการณ์ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
 
เป้าหมาย:
          ๑. ผลิตพันธุ์ปลาสลิดเพื่อทดลองเลี้ยงในโครงการฯ แจกให้แก่เกษตรกรและปล่อยลงสู่แหล่งน้ำจำนวน ๒,๐๐๐,๐๐๐ ตัว
          ๒. ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ จำนวน ๑๓๐ ราย
          ๓. ประมงโรงเรียน จำนวน ๔ แห่ง
          ๔. จุดเรียนรู้และสาธิตการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ จำนวน ๑ แห่ง
          ๕. ฝึกอบรมเกษตรกรด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คณะกรรมการครูและนักเรียนจำนวน ๑๗๐ ราย
          ๖. ติดตามและแนะนำเกษตรกร จำนวน ๑๐ ครั้ง
 
พื้นที่ดำเนินงาน :
          เกษตรกรในพื้นที่โครงการจุฬาภรณ์พัฒนา ๖ บ้านดอนนา ตำบลบางเขา อำเภอหนองจิก
จังหวัดปัตตานี
 
 
วิธีการดำเนินการ :
          ๑. กิจกรรมผลิตพันธุ์สัตว์น้ำ
                   ๑.๑ จัดเตรียมพ่อแม่พันธุ์ปลาสลิด จำนวน ๒,๕๐๐ คู่ และถังเพาะพันธุ์ปลา ขนาด ๒.๕ ตัน จำนวน ๒๐ ถัง บ่ออนุบาล ขนาด ๒ ไร่ จำนวน ๑๐ บ่อ ผลิตพันธุ์ปลาสลิด จำนวน ๒,๐๐๐,๐๐๐ ตัว
          ๒. กิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
                   ๒.๑ คัดเลือกเกษตรกรที่มีความสนใจการเลี้ยงปลา และมีบ่อเลี้ยงปลาเป็นของตนเองและอยู่ใกล้บ้าน
                   ๒.๒ จัดตั้งกลุ่มผู้เลี้ยงปลา
                   ๒.๓ อบรมและให้ความรู้ด้านวิชาการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแก่เกษตรกร
                   ๒.๔ สนับสนุนพันธุ์สัตว์น้ำ
                   ๒.๕ เจ้าหน้าที่ติดตามผลและให้คำแนะนำ แก้ไขปัญหา
                   ๒.๖ จับปลาบริโภคในครัวเรือน
           ๓. กิจกรรมประมงโรงเรียน
                   ๓.๑ คัดเลือกโรงเรียนที่มีบ่อปลาประจำโรงเรียน ขนาด ๑ - ๒ ไร่
                   ๓.๒ จัดตั้งคณะกรรมการครูและนักเรียนเพื่อดูแลการเลี้ยงปลา ประกอบด้วย ครู ๓ คน นักเรียน ๗ คน
                   ๓.๓ อบรมและให้ความรู้ด้านวิชาการแก่ครูและนักเรียน
                   ๓.๔ สนับสนุนปัจจัยการผลิต เช่น พันธุ์สัตว์น้ำ อาหาร วัสดุปรับปรุงบ่อ
                   ๓.๕ เจ้าหน้าที่ติดตามผลและให้คำแนะนำ แก้ไขปัญหา
                   ๓.๖ จับปลาบริโภคเป็นอาหารกลางวันของเด็กนักเรียน
           ๔. กิจกรรมจุดเรียนรู้และสาธิตการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
                   ๔.๑ จัดเตรียมบ่อดิน ขนาด ๒ ไร่ จำนวน ๔ บ่อ และทำการทดลองเลี้ยงปลากินพืช เช่น ปลาตะเพียน ปลานิล ปลาบ้า ปลายี่สกเทศ โดยใช้วิธีกึ่งพัฒนา โดยจะ ใส่ปุ๋ยคอก เดือนละ๑ ครั้ง และให้อาหารสมทบตลอดการเลี้ยง อัตราการปล่อย ๕,๐๐๐ ตัว/ไร่ จำนวน ๔ บ่อ ระยะเวลาการเลี้ยง ๖ - ๑๒ เดือน

                   ๔.๒ กำหนดจุดสำรวจเพื่อสำรวจชนิดสัตว์น้ำ แพลงก์ตอน พรรณไม้น้ำ และคุณภาพน้ำ ในพื้นที่พรุดอนนา พร้อมทั้งทำแบบสอบถามและสุ่มตัวอย่าง สัมภาษณ์ราษฎรที่อาศัยอยู่ในบริเวณโดยรอบพื้นที่โครงการฯ จำนวน ๓ หมู่บ้าน บริการให้ความรู้ทางด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การแปรรูปสัตว์น้ำ การปรับปรุงดินพรุ ดินเปรี้ยว ตรวจวัดคุณภาพน้ำ เพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแก่เกษตรกรที่เข้ามาติดต่อขอคำแนะนำในโครงการฯ และจัดเจ้าหน้าที่เป็นวิทยากรเพื่อให้ความรู้แก่เกษตรกรในชุมชน และหมู่บ้านตามคำขอของเก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น