วันพุธที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2560

โครงงานถนนอาชีพ กลุ่ม 5

โครงงานเรื่อง ส้มตำคอหมูย่าง
จัดทำโดย
ด.ช.ทรงพล  ชูเกาะ เลขที่1
ด.ช.สุทิน  สิงห์บ้านหมอ เลขที่13
ด.ช.ศุภชัย  เชื้อดี เลขที่14
ด.ช.บุรพล  มากเปี่ยม เลขที่15
ด.ญ.อนัณยตา  กองยอด เลขที่22

ครูที่ปรึกษา
คุณครู  ทองเหรียญ  กลิ่นแย้ม
คุณครู น้ำค้าง  เคียงข้าง
โรงเรียนบ้านวังอ้อ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตรเขต1

วันอังคารที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

โครงการจุฬาภรณ์พัฒนา ๖ จังหวัดปัตตานี

พระราชดำริ :    สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี
 
ความเป็นมา :
          ตามที่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จทรงปฏิบัติงานโครงการสร้างภูมิคุ้มกันในเขต ๔ จังหวัดชายแดนภาคใต้ อันประกอบด้วย จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสตูล มาเป็นเวลานาน ได้ทรงประสบพบเห็นชาวไทยที่ยากจน และไร้หลักแหล่งที่ทำกินจำนวนมาก จึงมีพระประสงค์จะให้ความช่วยเหลือแก่ราษฎรผู้ทุกข์ยากเหล่านั้น โดยทรงมีพระราชดำริ ความว่า “ให้จัดหาพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม และที่ถูกบุกรุกแล้วนำมาพัฒนาจัดระเบียบ เพื่อให้ราษฎรที่ยากไร้สามารถเข้าอยู่อาศัย และมีที่ทำกิน พร้อมทั้งบำรุงป่าธรรมชาติที่ยังเหลืออยู่ และปลูกป่าเพิ่มเติมให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ตลอดจนการพัฒนาอาชีพและยกระดับคุณภาพชีวิต เพื่อความอยู่ดีกินดีของราษฎรในรูปของหมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา
          ในส่วนของจังหวัดปัตตานี กรมป่าไม้ได้ถวายพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าดอนนา บ้านดอนนา ตำบลบางเขา อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี พื้นที่ประมาณ ๒,๒๕๖ ไร่ เพื่อทรงพิจารณาใช้ประโยชน์ป่าดอนนาซึ่งมีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม เป็นป่าเสม็ด ในรอบปีมีน้ำท่วมขังประมาณ ๓ - ๔ เดือน ดินส่วนใหญ่เป็นดินเหนียวและดินร่วนปนทรายมีความเป็นกรดของดินและน้ำค่อนข้างสูง ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในทางเกษตรกรรมได้สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า พื้นที่อยู่ไม่ไกลจากฝั่งทะเล (ประมาณ ๔ - ๕ กม.) และมีน้ำเค็มขึ้นถึงเกือบตลอดปี มีคลองธรรมชาติอื่นเข้ามาจากฝั่งทะเล และหลายคลองสามารถดึงน้ำทะเลเข้ามาในพื้นที่ได้ ทำให้พื้นที่ดังกล่าวซึ่งไม่ได้ใช้ประโยชน์อันใดนั้น สามารถนำมาพัฒนาให้เป็นพื้นที่ในการเลี้ยงกุ้งกุลาดำแบบพัฒนาได้ อันประกอบด้วย ระบบชลประทานน้ำเค็ม และระบบบำบัดน้ำเสียอย่างถูกต้องตามหลักการรักษาสภาพแวดล้อม เพื่อให้เป็นตัวอย่างของรูปแบบการเลี้ยงกุ้งที่ถูกวิธี และแนะนำฝึกหัดให้ราษฎรในโครงการได้รู้ถึงการเลี้ยงกุ้งที่ถูกต้องและเหมาะสม แต่เนื่องจากการจัดทำโครงการจัดระบบน้ำเค็มเพื่อการเลี้ยงกุ้งทะเล ต้องใช้งบประมาณในการลงทุนค่อนข้างสูงมาก จึงชะลอโครงการนี้ไว้ก่อนเพื่อศึกษาหาความเป็นไปได้ว่าจะเป็นไปได้มากน้อยเพียงไรสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์และกรมประมงได้พิจารณาเห็นว่า ด้วยคุณลักษณะทางกายภาพและพืชพรรณของพื้นที่มีความเป็นไปได้สูง
ในการนำมาใช้ประโยชน์เพื่อการเพาะเลี้ยงปลาสลิด อันจะเป็นอาชีพที่มั่นคงแก่ราษฎรผู้ยากไร้ได้ต่อไป
          เมื่อวันที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๓๖ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ได้เสด็จฯ ออกหน่วยแพทย์พระราชทาน ณ โรงเรียนวังกะพ้อ ทรงมีพระราชดำริ ให้จังหวัดปัตตานีร่วมกับกรมประมง และหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน ดำเนินการวางแผนทดลองเลี้ยงปลาสลิดในระหว่างที่รอผลการศึกษาความเป็นไปได้ของการเลี้ยงกุ้งแบบหนาแน่น ดังนั้น การเลี้ยงปลาสลิดในโครงการจุฬาภรณ์พัฒนา ๖ ป่าดอนนา จังหวัดปัตตานี จึงไม่เพียงเป็นการสร้างอาชีพแก่ราษฎรผู้ยากไร้เท่านั้น ยังเป็นการจัดสร้างแหล่งปลาสลิดแห่งใหม่ทดแทนแหล่งปลาดั้งเดิม (แถบอำเภอบางพลี บางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ) อีกทั้งสามารถนำผลการทดลองเป็นแนวทาง เพื่อขยายผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ดินเค็ม ดินเปรี้ยวจัด และดินพรุ ซึ่งเป็นที่รกร้างว่างเปล่าที่มีอยู่มากมายทางภาคใต้ต่อไป
 
 
วัตถุประสงค์โครงการ :
          ๑. เพื่อจัดทำแปลงนาปลาสลิดในลักษณะสาธิตถึงการจัดระบบการเลี้ยงแบบพัฒนาควบคู่ไปกับการอนุรักษ์สภาพแวดล้อม
          ๒. เพื่อสร้างอาชีพให้แก่เกษตรกรผู้ยากไร้ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้มีรายได้เพิ่มขึ้น
          ๓. เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาขยายพื้นที่การเลี้ยงปลาสลิด โดยเฉพาะการใช้ประโยชน์จากพื้นที่อื่นที่ไม่สามารถทำการเกษตรด้านอื่นๆ ได้
          ๔. เพื่อเป็นแหล่งผลิตอาหารโปรตีนประเภทปลาให้แก่นักเรียนบริโภคเป็นอาหารกลางวัน และเป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่ความรู้ถ่ายทอดให้เกษตรกรในหมู่บ้าน รวมทั้งปลูกฝังและฝึกอบรมให้นักเรียนมีความรู้และประสบการณ์ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
 
เป้าหมาย:
          ๑. ผลิตพันธุ์ปลาสลิดเพื่อทดลองเลี้ยงในโครงการฯ แจกให้แก่เกษตรกรและปล่อยลงสู่แหล่งน้ำจำนวน ๒,๐๐๐,๐๐๐ ตัว
          ๒. ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ จำนวน ๑๓๐ ราย
          ๓. ประมงโรงเรียน จำนวน ๔ แห่ง
          ๔. จุดเรียนรู้และสาธิตการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ จำนวน ๑ แห่ง
          ๕. ฝึกอบรมเกษตรกรด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คณะกรรมการครูและนักเรียนจำนวน ๑๗๐ ราย
          ๖. ติดตามและแนะนำเกษตรกร จำนวน ๑๐ ครั้ง
 
พื้นที่ดำเนินงาน :
          เกษตรกรในพื้นที่โครงการจุฬาภรณ์พัฒนา ๖ บ้านดอนนา ตำบลบางเขา อำเภอหนองจิก
จังหวัดปัตตานี
 
 
วิธีการดำเนินการ :
          ๑. กิจกรรมผลิตพันธุ์สัตว์น้ำ
                   ๑.๑ จัดเตรียมพ่อแม่พันธุ์ปลาสลิด จำนวน ๒,๕๐๐ คู่ และถังเพาะพันธุ์ปลา ขนาด ๒.๕ ตัน จำนวน ๒๐ ถัง บ่ออนุบาล ขนาด ๒ ไร่ จำนวน ๑๐ บ่อ ผลิตพันธุ์ปลาสลิด จำนวน ๒,๐๐๐,๐๐๐ ตัว
          ๒. กิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
                   ๒.๑ คัดเลือกเกษตรกรที่มีความสนใจการเลี้ยงปลา และมีบ่อเลี้ยงปลาเป็นของตนเองและอยู่ใกล้บ้าน
                   ๒.๒ จัดตั้งกลุ่มผู้เลี้ยงปลา
                   ๒.๓ อบรมและให้ความรู้ด้านวิชาการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแก่เกษตรกร
                   ๒.๔ สนับสนุนพันธุ์สัตว์น้ำ
                   ๒.๕ เจ้าหน้าที่ติดตามผลและให้คำแนะนำ แก้ไขปัญหา
                   ๒.๖ จับปลาบริโภคในครัวเรือน
           ๓. กิจกรรมประมงโรงเรียน
                   ๓.๑ คัดเลือกโรงเรียนที่มีบ่อปลาประจำโรงเรียน ขนาด ๑ - ๒ ไร่
                   ๓.๒ จัดตั้งคณะกรรมการครูและนักเรียนเพื่อดูแลการเลี้ยงปลา ประกอบด้วย ครู ๓ คน นักเรียน ๗ คน
                   ๓.๓ อบรมและให้ความรู้ด้านวิชาการแก่ครูและนักเรียน
                   ๓.๔ สนับสนุนปัจจัยการผลิต เช่น พันธุ์สัตว์น้ำ อาหาร วัสดุปรับปรุงบ่อ
                   ๓.๕ เจ้าหน้าที่ติดตามผลและให้คำแนะนำ แก้ไขปัญหา
                   ๓.๖ จับปลาบริโภคเป็นอาหารกลางวันของเด็กนักเรียน
           ๔. กิจกรรมจุดเรียนรู้และสาธิตการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
                   ๔.๑ จัดเตรียมบ่อดิน ขนาด ๒ ไร่ จำนวน ๔ บ่อ และทำการทดลองเลี้ยงปลากินพืช เช่น ปลาตะเพียน ปลานิล ปลาบ้า ปลายี่สกเทศ โดยใช้วิธีกึ่งพัฒนา โดยจะ ใส่ปุ๋ยคอก เดือนละ๑ ครั้ง และให้อาหารสมทบตลอดการเลี้ยง อัตราการปล่อย ๕,๐๐๐ ตัว/ไร่ จำนวน ๔ บ่อ ระยะเวลาการเลี้ยง ๖ - ๑๒ เดือน

                   ๔.๒ กำหนดจุดสำรวจเพื่อสำรวจชนิดสัตว์น้ำ แพลงก์ตอน พรรณไม้น้ำ และคุณภาพน้ำ ในพื้นที่พรุดอนนา พร้อมทั้งทำแบบสอบถามและสุ่มตัวอย่าง สัมภาษณ์ราษฎรที่อาศัยอยู่ในบริเวณโดยรอบพื้นที่โครงการฯ จำนวน ๓ หมู่บ้าน บริการให้ความรู้ทางด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การแปรรูปสัตว์น้ำ การปรับปรุงดินพรุ ดินเปรี้ยว ตรวจวัดคุณภาพน้ำ เพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแก่เกษตรกรที่เข้ามาติดต่อขอคำแนะนำในโครงการฯ และจัดเจ้าหน้าที่เป็นวิทยากรเพื่อให้ความรู้แก่เกษตรกรในชุมชน และหมู่บ้านตามคำขอของเก

วันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

การออกแบบทัศนศิลป์


การออกแบบทัศนศิลป์

การออกแบบจำแนกได้ ประเภท
การออกแบบจำแนกได้ ประเภท คือ การออกแบบโครงสร้าง และการออกแบบตกแต่ง
1.การออกแบบโครงสร้าง คือ การออกแบบรูปร่างและรูปทรงของวัตถุ เพื่อให้ได้สัดส่วนพอเหมาะ
2.การออกแบบตกแต่ง คือ การใช้ลวดลายตกแต่งให้กับโครงสร้างหลักเพื่อความสวยงาม

องค์ประกอบของการออกแบบ
ผลงานออกแบบส่วนมากจะมีการผสมผสานองค์ประกอบอย่างกลมกลืน ตรงตามความมุ่งหมายที่ออกแบบไว้ โดยการออกแบบนั้นจะต้องคำนึงถึงหลักการ เพื่อให้ได้ผลงานที่มีคุณภาพ โดยอาศัยองค์ประกอบต่อไปนี้
1.เส้น (Line) จะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะของเส้น
2.ทิศทาง (Direction)
3.รูปร่างและรูปทรง (Form and Shape) รูปร่างจะมีลักษณะกว้างและยาว รูปทรงมีลักษณะกว้าง ยาว หนา
4.ขนาดและสัดส่วน (Size and proportion)
5.ลักษณะพื้นผิว (Textury) คือสื่งที่เห็นหรือสัมผัสได้
6.น้ำหนักและสี (Value and Colour)
7.ดุลยภาพ (Balance)
8.ความกลมกลืน (Harmony) จัดองค์ประกอบให้ได้ประสานกลมกลืน
9.ความขัดแย้ง (Contrast) เป็นการจัดองค์ประกอบให้ตรงข้ามกัน
10.ความเด่น (Dominance) คือ การสร้างองค์ให้มีลักษณะเด่น
11.การเคลื่อนไหว (Movement)
12.จัวหวะ (Rhythm)
13.เอกภาพ (Unity) คือ การจัดให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

การออกแบบงาน2มิติและ3มิติ
การออกแบบงาน2มิติ แบ่งออกเป็น4ประเภท
1.การออกแบบกราฟิก จุดมุ่งหมายเพื่อการค้าเป็นส่วนใหญ่ การออกแบบตราสัญลักษณ์ การออกแบบโฆษณาการออกแบบภาพเครื่องหมาย
2.การออกแบบแฟชั่น
3.การออกแบบผลิตภัณฑ์
4.การออกแบบตกแต่งภายใน
การออกแบบงาน3มิติ แบ่งออกเป็น2ประเภท
1.การออกแบบผลิตภัณฑ์ คือ การออกแบบอุปกรณ์ เครื่องมือ-เครื่องใช้ต่างๆ
2.การออกแบบงานฝีมือ
การจัดแสดงนิทรรศการ
คือ การแสดงเพื่อการศึกษา จะจัดภายในอาคารหรือภายนอกอาคารก็ได้หลักการออกแบบนิทรรศการ
1.เอกภาพ คือ การจัดให้เป็นหมวดหมู่ และมีความสัมพันธูกันโดยตลอด
2.สมดุล คือ การจัดวัสดุให้มีความสมดุลกัน
3.เน้น คือ การสร้างจุดเด่นหรือจุดด้อย
4.แตกต่าง คือ การสร้างงานให้แปลกใหม่ ไม่ซ้ำใคร
5.เรียบง่าย

การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการออกแบบ
การใช้โปรแกรมAdobe Photoshopในการออกแบบคือโปรแกรมใช้สำหรับงานเกี่ยวกับภาพ เป็นโปรแกรมทีจัดความละเอียดของงาน มีการออกแบบดังนี้
วัสดุ/อุปกรณ์
1.คอมพิวเตอร์
2.โปรแกรมAdobe Photoshop
3.เครื่องพิมพ์
4.กระดาษ
ขั้นตอนและเทคนิกในการปฏิบัติ
1.เปิดโปรแกรมPhotoshop
2.เลือกคำสั่งFileเพื่อเปิดไฟล์งาน
3.เลือกOpen
4.เปิดภาพที่ต้องการใช้งาน
5.เลือกเครื่องมือปากกา เพื่อสร้างPaths
6.คลิกเมาส์เพื่อPathsส่วนที่ต้องการใช้งาน
7.เมื่อPathsส่วนที่ต้องการใช้งานเรียบร้อยแล้ว ให้คลิกที่มุมด้านขวาของPalette Paths
8.เลือกคำสั่งMake Selectionเมื่อเลือกแล้วจะมีDialog Boxขึ้นมา เพื่อให้ใส่ค่าFeather Radiusเลือกใส่ตามความเหมาะสม แล้วคลิกOK
9.จากนั้นใช้คำสั่งInverseโดยเข้าที่เมนูบาร์เลือกSelectแล้วเลือกInverse
10.ดูที่Palette LayerดับเบิลคลิกBackground Layerเพื่อปลดล็อกLayer
11.กดปุ่มDeleteที่Keyboardเพื่อลบส่วนที่ไม่ต้องการออก
12.สาสมรถใช้ยางลบ ตกแต่งเพื่อความละเอียดของชิ้นงานได้
13.ภาพที่สมบูรณ์พร้อมที่จะไปประกอบกับส่วนที่เป็นฉากหลังต่อไป
14.จากนั้น กลับมาเลือกคำสั่งFileเลือกOpenเพื่อเปิดไฟล์งานอีกครั้ง โดยครั้งนี้จะเป็นการเปิดภาพเพื่อนำมาทำฉากหลัง
15.ภาพที่เลือก
16.กลับมาดูภาพที่หนึ่ง1เลือกเครื่องมือMove Tool
17.คลิกเมาส์ภาพที่1ค้างไว้ แล้วลากมายังภาพที่2
18.ใช้เครื่องมือMove Toolเลื่อนภาพให้อยู่ในตำแหน่งที่ต้องการ
19.เลือกคำสั่งType Toolพิมพ์ข้อความที่ต้องการลงไป
20.เปลี่ยนฟอนต์ ขนาดตัวอักษร และสีให้สวยงาม โดยใช้Type Toolคลุมตัวอักษรที่ต้องการ แล้วเปลี่ยนที่แถบเครื่องมือ
21.คลิกที่มุมด้านขวPalette Layerแล้วเลือกFlatten Imageเพื่อทำการรวมLayerเข้าด้วยกัน
22.ภาพที่เสร็จสมบูรณ์ พร้อมนำไปใช้งาน